TKP HEADLINE

"ไปชมดอกบัว ไปทัวร์อุทยานสมเด็จย่า"

 


อุทยานสมเด็จย่า (ฐานวรพัฒน์) เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ในท้องที่จังหวัดมุกดาหารแห่งเดียว คือ อุทยานสมเด็จย่า ประวัติความเป็นมา สืบเนื่องมาจากชุดควบคุมทางยุทธวิธีที่ 06 ตั้งขึ้นตามคำสั่งกองทัพภาคที่ 2 ส่วนหน้า ในปลายปี 2518 มี บก.ชค.อยู่ที่บ้านนาม่วง อำเภอดอนตาล จังหวัดนครพนม ในขณะนั้น บนพื้นที่ประมาณ 18 ไร่ ติดลำห้วย อ่านต่อ

การขยายพันธุ์พืชกระเจียว

 


ภูมิปัญญา/ปราชญ์ชาวบ้านดีเด่น ด้านการขยายพันธุ์พืชกระเจียว พืชสมุนไพร ที่ดิน 1 ไร่ ก็สร้างรายได้ตลอดปีได้ ด้วยการจัดสรรพื้นที่ให้ถูกต้อง การทำเกษตร พื้นที่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมาก หากอยากได้รับผลผลิตมาก ก็ต้องมีพื้นที่มากเช่นกัน การ ข า ด แ ค ล น ที่ดินทำกินของเกษตรกรจึงเป็นปัญหาของเกษตรกร แต่หากมีการจัดสรรที่ดินให้ถูกต้อง ที่ดินเพียง 1 ไร่ ก็สามารถสร้างได้รายให้เราได้มากเลยทีเดียว โดยการใช้ทฤษฏี “เกษตรผสมผสาน” อ่านต่อ

อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว

 


อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว มีเนื้อที่อยู่บนแนวเขตรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ มีเนื้อที่ประมาณ 144,375 ไร่ หรือ 231 ตารางกิโลเมตร ในอดีตประมาณปี พ.ศ. 2508 - 2525 พื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้ เคยเป็นที่แทรกซึมของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) นับได้ว่าเป็นขุมกำลังที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ จึงไม่มีราษฎรบุกรุกเข้าทำกินในพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2525 อ่านต่อ

การสานหมวกจากต้นกก

 

อาชีพการสานหมวกจากเส้นกก เป็นการจัดการศึกษาอาชีพของชุมชน บ้าป่าชาด หมู่ ๑ โดยมีนายวีระ ใจทัศ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๑ บ้านป่าชาด ตำบลป่าไร่ อำำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ได้นำกลุ่มสตรีบ้านป่าชาด โดยมีแม่คำเติน ดีดวงพันธ์ แม่คำสอน แม่ทองใบ แสนสุข แม่อุไร ใจทัศ เป็นผู้คิดริเริ่มให้ชาวคุ้มภูไทมักสาน อ่านต่อ

ลอบและไซดักปลา


ลอบ เป็นเครื่องมือจับปลาที่สานด้วยไม้ไผ่ หวาย เถาวัลย์ หรือลวดรัดโครงไม้ ลอบ มีช่องว่างให้ปลาเข้าไปติดอยู่ภายใน ลอบแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ 1. ลอบนอน ใช้ดักปลาสำหรับน้ำไหล มักจะมีหูข้างอยู่ที่ปากลอบด้วย โดยใช้แผงเฝือต่อจากหูช้างทั้งสองข้าง กั้นขวางตามแนวแม่น้ำ ลำคลอง วางลอบอยู่ในแนวนอน ลอบมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ก้นรอบเป็นรูปรีๆ มีความยาว 1-2 เมตร เหลาไม้ไผ่เป็นซี่กลมๆ ประมาณ 20 ซี่ อ่านต่อ


 

วัดภูดานยาว

 


อนุสรณ์สถานภูดานยาว สถานที่รำลึกวันปลดอาวุธผู้กลับใจ แต่วันนี้ 'ลืม' และไร้คนเหลียวแล

  • ปี พ.ศ.. 2510 รัฐบาลได้ส่งกำลังทหารไปล้อมปราบบ้านบาก ตำบลบ้านบาก อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร จับกุมชาวบ้านไป 63 คน อีกส่วนหนึ่งก็หนีเข้าป่าจัดตั้งเป็นทหาร 1 หมู่ 12 คนทั้ง 3 เขตได้ประสานงานกันอย่างแนบแน่น ได้ดำเนินสงครามประชาชนตลอดมา

  • ปี พ.ศ. 2512 ได้ประกาศจัดตั้งกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย ที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เขตงานภูสระดอกบัวก็ได้ประกาศจัดตั้งกองทหารขึ้น 1 หมวด 30 คน อ่านต่อ

ชาผักหวาน

 


แนวคิดการผลิตชาผักหวานป่านั้นได้เริ่มประมาณกลางปี 2555 เมื่อกลุ่มเกษตรกรทายาทไทบรู ในตำบล ดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการเพาะต้นกล้าผักหวานไว้จำหน่าย ได้นำความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้เกี่ยวกับผักหวานป่ามาพัฒนาแปรรูป เนื่องจากได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของใบผักหวานป่า ซึ่งปกติแล้วคนทั่วไปจะนิยมบริโภคแต่ใบผักหวานอ่อน หรือยอดผักหวาน ทำให้ส่วนใบแก่ไม่เป็นที่ต้องการ อ่านต่อ

วัดนิคมเกษตร

 

วัดนิคมเกษตร รักษาการหัวหน้านิคมฯ ว่าที่ร้อยตรีผจญ.ผ่องลำเจียก ได้ไปนิมนต์ หลวงปู่ศรี มหาวิโร วัดป่ากุง จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งขณะนั้นท่านจำวัดอยู่ที่ วัดผาน้ำทิพย์ (ผาน้ำย้อย) ให้ส่งพระลูกวัดจำนวนหนึ่งมาจำพรรษาที่นิคมฯ สมาชิกจึงได้ช่วยกันสร้างที่พักสงฆ์อยู่ทางทิศใต้ติดกับลำห้วยชะโนด โดยวางแผนว่าจะสร้างเป็นวัดในอนาคต อ่านต่อ

วัดศรีมหาโพธิ์


วัดศรีมหาโพธิ์ ตั้งอยู่ในอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมานับ 100 ปี บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณโดยรอบวัดศรีมหาโพธื์ มองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อ่านต่อ

 

กระเป๋าสานจากต้นผือ

 


บ้านหนองผือ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ การทำนาเป้นหลักและมีผือที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ ซึ่งหลังจากที่ว่างจากการทำนา ชาวบ้านส่วนหนึ่งที่ไม่ได้ออกไปทำงานรับจ้างต่างถิ่น มีความคิดที่จะนำต้นผือมาดัดแปลงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าซึ่งเพิ่มมูลค่าในการจำหน่ายได้ เป็นที่ต้องการของตลาด อ่านต่อ

แก่งกะเบา

 


แก่งกะเบาเป็นแก่งหินยาวเหยียดตามลำน้ำโขง บนฝั่งก็ยังมีลานหินกว้างใหญ่เป้นที่พักผ่อนได้อย่างดี แก่งกะเบา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม ตั้งอยู่ในเขตบ้านนาแกน้อย ตำบลป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ ห่างจากตัวจจังหวัดมุกดาหาร 35 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ห่างจากอำเภอธาตุพนมเป็นระยะทาง 24 กิโลเมตร อ่านต่อ

ประเพณีแห่ดาว วัดสองคอน

 


งานเทสกาลวันคริสต์มาส "Magic of Songkhon ออนซอน สองคอน เฟสติวัล" ซึ่งอำเภอหว้านใหญ่ กำหนดจัดขึ้น ในวันที่ 24 - 26 ธันวาคม ของทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองรำลึกถึงเกียรติคุณบุญราศีมรณสักขีทั้ง 7 ท่าน ที่ได้พลีชีพเพื่อยืนยันความเชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้า เมื่อครั้งเกิดกรณีพิพาทไทยกับฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อ่านต่อ

โบสถ์คริสต์วัดสองคอน

 


โบสถ์คริสต์วัดสองคอน หรือ สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขีสองคอน ตั้งอยู่ท่ามกลางบริเวณอันกว้างขวางริมฝั่งโขง ณ บ้านสองคอน อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร สถานแห่งมรณสักขีได้ชื่อว่าเป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ที่มีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามแปลกตาของตัวอาคาร เป็นโบสถ์คริสต์สร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ อ่านต่อ


วัดมโนภิรมย์

 


วัดมโนภิรมย์ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เล่มที่ 99 ตอนที่ 130 เมื่อ 14 กันยายน 2525 กรมศิลป์ระบุว่าวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย ตรงกับ พ.ศ.2230 สร้างโดยท้าวคำสิงห์และญาติพี่น้องรวมทั้งบริวารที่อพยพมาจากฝั่งลาวพร้อมกับการตั้งบ้านชะโนด อ่านต่อ

การสานกระติบข้าวจากไม้ไผ่

 


การสานกระติบข้าวเป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาลำไม้ไผ่แปรสภาพให้เป็นภาชนะสานสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่ง มีรูปทรงคล้ายกระบอกและรูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายกระป๋อง มีฝาปิด มีเชือกร้อยสำหรับหิ้วและถือ นิยมใช้กันในหมู่ผู้บริโภคข้าวเหนียวในภาคเหนือและภาคอีสาน อ่านต่อ 

ประเพณีลอยกระทง ชุมชนบ้านเกษตรสมบูรณ์

 


วันลอยกระทง ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ส่วนปฏิทินจันทรคติล้านนา วันลอยกระทงมักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ส่วนปฏิทินสุริยคติในบางปี เทศกาลลอยกระทงก็มักจะตรงกับเดือนตุลาคม อย่างเช่นเมื่อปี พ.ศ. 2544 ที่มีวันลอยกระทงตรงกับวันที่ 31 ตุลาคมและจะวนกลับมาตรงในวันเดียวกันนี้อีกครั้งเมื่อถึงปี พ.ศ. 2563 อ่านต่อ

การทำไม้กวาดดอกหญ้า

 


ไม้กวาดดอกหญ้า เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นชุมชน วิถีชีวิต การรวมกลุ่มกันของคนในชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ก่อเกิดและสืบทอดกันมา ในชุมชนหมู่บ้านเมื่อหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน อ่านต่อ

พรมเช็ดเท้า ชุมชนบ้านนากอก

 

ระชาชนบ้านนากอกมีอาชีพเกษตรกร หลังจากว่างงานก็ตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้โดยการนำเศษผ้ามาใช้ ปัจจุบันมีการนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของสำหรับใช้ สอยในชีวิตประจำวันมากมาย เช่น พรมเช็ดเท้าจากเศษผ้าของใช้ที่ทุกๆครัวเรือนจะต้องมี ทุกวันนี้พรมเช็ดเท้ามีลวดลายและรูปแบบต่างๆมากมายให้เราเลือกใช้ แถมวิธีทำก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิดอีกทั้งยังสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพอิสระได้อีกด้วย อ่านต่อ

ไหมชุมชนบ้านอรัญญา

 

ไหม คือ เส้นใยจากรังไหมผีเสื้อชนิด Bombyx mori ในวงศ์ Bombycidae ผีเสื้อชนิดนี้อ้วนป้อม มีขนขาวและสีครีมคลุมเต็มตัว ปีกมีลายเส้นสีน้ำตาลอ่อนหลายเส้นพาดตามแนวขวาง เมื่ออยู่ในช่วงวัยอ่อนจะเป็นตัวหนอนสีขาวหรือครีม มีรยางค์เล็ก ๆ สั้น ๆ คล้ายขาที่ปลายหาง หนอนไหมที่เลี้ยงกันในประเทศไทยกินใบหม่อนเป็นอาหาร เมื่อหนอนโตเต็มที่จะถักใยหุ้มดักแด้เพื่อฟักตัวเป็นผีเสื้อ ในช่วงนี้เองที่เรานำมาต้มเพื่อสาวเส้นใยออกมาทอเป็นผืนผ้าได้ อ่านต่อ

อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก

 


เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญของ อำเภอนิคมคำสร้อย ที่มีความสวยงามทางด้านทัศนียภาพ โดยเฉพาะ ทางตอนเหนือของ อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก มีลักษณะเป็นทะเลสาบ ขนาดใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำจืด ไม่ว่าจะเป็น กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ แหล่งท่องเที่ยว อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก จึงเปรียบเสมือน เป็นทะเลสาบของจังหวัดมุกดาหาร ที่สำคัญ อ่านต่อ

การพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านบะ

 


พระองค์ท่านทรงเน้นให้ประชาชนและเกษตรกรรู้จักพึ่งตนเองจึงได้พระราชทานแนวคิดเรื่อง“ทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อเป็นหลักคิดให้กับทุก ๆ คน ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พ่อโฮม อุคำ จึงได้รวบรวมกลุ่มคนในหลาย ๆ อาชีพ ที่มีแนวคิด แนวอุดมการณ์ ในการที่จะฟื้นฟูหมู่บ้าน โดยการนำแนวคิดเรื่องทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ให้ใช้กับการทำการเกษตรและการดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน อ่านต่อ




การแต่งกายด้วยชุดเผ่าข่า

 

พี่น้องประชาชน ชาวตำบลบ้านเหล่า มีเชื้อสายมาจากเผ่าข่า โดยมีที่มา ดังนี้“…ชาวข่าไม่ได้เรียกตัวเองว่า ‘ข่า’ แต่เรียกตัวเองว่า ‘บรู’ แปลว่า ภูเขา หรือคนที่อยู่ในป่าใกล้เขา ตามลักษณะของชนชาติตนที่เกี่ยวกับระบบนิเวศ คือ รักสงบ มีวิถีชีวิตที่พึ่งพาธรรมชาติ เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามป่าเขา ซึ่งคำว่า ข่า ที่คนไทยเรียกนั้น หมายถึง ข้า, ขี้ข้า หรือ ทาส จิตร ภูมิศักดิ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ว่า ‘ต้นกำเนิดเดิมของชื่อ ข่า เป็นภาษาลาว ไทยเรายืมชื่อนี้มาจากลาวใต้อีกทอดหนึ่ง มิใช่ชื่อที่ไทยคิดขึ้นเอง อ่านต่อ

วัดศรีอ้อมแก้ว

 

วัดศรีอ้อมแก้วตั้งอยู่ในพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา คือภูผากูดด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ และภูเขากวางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีลำห้วยทรายไหลผ่านในพื้นที่ บริเวณวัดมีรั้วล้อมรอบ มีเนื้อที่ประมาณ ๖ ไร่เศษ ภายในบริเวณมีเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่กุฏิสงฆ์ อุโบสถไม้(สิม)อยู่กลางน้ำ เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญในตำบลคำบก จากการที่เคยใช้อุโบสถ(สิม)น้ำ อ่านต่อ

บุญบั้งไฟ

 

บุญบั้งไฟประเพณีประจำปีของชาวอีสานที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ตำบลมุกดาหารก็มีประเพณีบุญบั้งไฟโดยปกติแล้วประเพณีบุญบั้งไฟจัดขึ้นสองวันด้วยกัน วันแรกเป็น “วันโฮม” ในวันนี้ชาวบ้านจะจัดขบวนบั้งไฟแห่ไปรวมกันในสมัยโบราณจะเป็นวันรวมบั้งไฟจากหมู่บ้านต่างๆ ที่มาร่วมจุดในวันรุ่งขึ้น ส่วนวันที่สอง เรียกว่า “วันจุด” ในตอนเช้าจะนำบั้งไฟไปที่ลานจุด โดยทำค้างบั้งไฟ (ฮ้าน)บนต้นไม้สูงตามขนาดของบั้งไฟ ในปัจจุบันค้างบั้งไฟทำจากเสาซีเมนต์วางเอียงประมาณ 80 องศา อ่านต่อ

การเพาะเห็ด

 

เห็ดจัดเป็นวัตถุดิบจำพวกผักอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมในการใช้ประกอบอาหาร เนื่องจากมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีโปรตีนและวิตามินสูง ไขมันต่ำ มีเส้นใยสูงบริโภคได้ทุกเพศ ทุกวัย จนมีผู้ยกย่องให้เป็นราชาแห่งผัก อีกทั้งมีความเชื่อเกี่ยวกับสรรพคุณทางยา เช่น การป้องกันการสะสมไขมันในเส้นเลือด โรคทางเดินหายใจ โรคความดันโลหิตสูง ป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง ฯลฯ เห็ดนางฟ้าภูฐาน (Bhutan Oyster Mushroom) เป็นเห็ดตระกูลเดียวกับเห็ดนางรม เดิมทีพบที่ประเทศภูฐาน อ่านต่อ

บ้านหนังสือชุมชนตำบลมุกดาหาร

 


กศน.ตำบลมุกดาหาร ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชน มีนิสัยรักการอ่านโดยกาจัดตั้งบ้านหนังสือชุมชนขึ้นในแต่ละชุมชน โดยมีอาสาสมัครรับผิดชอบให้บริการ บ้านหนังสือชุมชน ทั้งนี้ยังได้มีการหมุนเวียนหนังสือ เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ใหม่ และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยมี นักศึกษาและ ครู กศน.ตำบล นำหนังสือไปยังจุดบริการ บ้านหนังสือชุมชน ทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ยังมีการจัดบอร์ด เพื่อให้ความรู้ แก่ประชาชน โดยหมุนเวียน การจัดบอร์ความรู้ เพื่อให้เกิดความหลากหลาย อ่านต่อ

ประเพณีเลี่ยงหอปู่ตา

 


หลักการและเหตุผล

ปู่ตา หมายถึง คนสองจำพวกที่เป็นบรรพชนของชาวอีสาน คำว่า ปู่ หมายถึง ปู่และย่า ที่เป็นพ่อแม่ของพ่อ ส่วนคำว่า ตา หมายถึง ตาและยายที่เป็นพ่อแม่ของแม่ เมื่อบรรพบุรุษสองสายนี้ล่วงลับไปหลายชั่วอายุคน จนไม่สามารถที่จะจำชื่อได้ ลูกหลานรุ่นหลัง ๆ จึงเรียนเป็นกลาง ๆ ว่า ปู่ตา
ทำไมจึงมีการเลี้ยงปู่ตา อ่านต่อ


การทำกระถางต้นไม้ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

 

การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศ ให้มี ความรู้ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงและส่งเสริมความ เข้มแข็งให้แก่ เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ 2555 ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี ที่ จะพัฒนาศักยภาพ ของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักโลก อ่านต่อ

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดมุกดาหาร

 

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดมุกดาหาร ได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ โดยนายสมภาพ ศรีวรขาน (นายอำเภอมุกดาหารสมัยนั้น) ได้ร่วมกับข้าราชการ ประชาชนเสนอจดตั้งขึ้นและได้อาศัยบริเวณส่วนหนึ่งของหอประชุมอำเภอมุกดาหารเป็นที่ทำการชั่วคราว ต่อมาปีพ.ศ.๒๕๒๒ กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียนขึ้น ห้องสมุดประชาชนอำเภอมุกดาหาร กองการศึกษาผู้ใหญ่ก็ได้โอนสังกัดไปขึ้นต่อกรมการศึกษานอกโรงเรียน อ่านต่อ

วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์

 

วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมชาวบ้านเรียกว่าวัดมโนรมย์ ตั้งอยู่บนเขามโนรมย์ บ้านเขามโนรมย์ หมู่ที่ 9 ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร มีเนื้อที่ 66 ไร่ 3 งาน 33 ตารางวาตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เพิกถอนพื้นที่วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ออกจากเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบแล้ว ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 69 ก วันที่ 18 กรกฎาคม 2546 ตามโฉนดที่ดิน น.ส. 4 จ. เลขที่ 62451 จากหลักฐานการสร้างจากแผ่นศิลา ได้กล่าวว่า อ่านต่อ

เส็งตีกลองกิ่ง



กลองกิ่ง หรือกลองเส็ง เป็นกลองประเพณีมาแต่โบราณชาวบ้านดงภู ตำบลน้ำเที่ยง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ลักษณะการนำไปใช้ในงานจะแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของงานประเพณีนั้นๆ แต่ที่เหมือนกันคือ กลองกิ่งเป็นกลองที่ใช้ในการแข่งขันประชันความดัง เรียกว่า “การเส็งกลองกิ่ง” การเส็งกลอง หรือการแข่งขันตีกลองกิ่ง กำหนดจัดขึ้นเมื่อมีงานประเพณี โดยนิยมแข่งกันในงานบุญเดือนหก อ่านต่อ

การทำไม้กวาดดอกแขมบ้านบาก


 

การทำไม้กวาดดอกแขมบ้านบาก ตำบลคำบก อำเภอคำชะอี  จังหวัดมุกดาหาร เป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ เริ่มจากในสมัย ปู่ ย่า ตา ยาย ไม้กวาดที่ใช้ทำความสะอาดในครัวเรือนสมัยนั้น ไม่ได้ลงทุนอะไรเลย เพียงแค่เอาฟางข้าวนำมามัดรวมกันเป็นกำก็ใช้กวาดบ้านทำความสะอาดได้ คนในสมัยก่อนการประกอบอาชีพและการทำมาหากินจะอยู่กับธรรมชาติ ทุ่งนา ป่า เขา ลำเนาไพร ในตำบลคำบกมีภูเขาที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ มีภูเขาชื่อว่า “ภูผากูด” อ่านต่อ

วัดป่าวิเวกวัฒนา


วัดป่าวิเวกวัฒนาราม หรือ วัดหลวงปู่จาม ตั้งอยู่ บ้านห้วยทราย ตำบลคำชะอี ภายในวัดมีส่วนจัดแสดงอัตถประวัติและหลักธรรมคำสอนของท่าน ท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่น นอกจากนั้นลักษณะเด่นของวัดอีกอย่างหนึ่ง คือ เจดีย์บู่ทองกิตติ เป็นเจดีย์ลักษณะห้ายอด ตั้งอยู่บนฐานกว้าง 13 เมตร ยาว 13 เมตร ความสูงจากพื้น ถึงยอดเจดีย์ 45 เมตร เป็นศิลปะประยุกต์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 อ่านต่อ

ร่มจากผ้าขาวม้า



การทำร่มผ้าขาวม้าเป็นอาชีพที่กลุ่มแม่บ้าน บ้านโพน หมู่ 7 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ปัจจุบันร่มเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้ทุกบ้านเรือนต้องมีติดไว้และยิ่งเป็นผู้หญิงจะพกไว้ในกระเป๋าผ้าตลอดเวลาเพราะในสมัยมีร่มมีหลากหลายรูปแบบหลากหลายทรงให้เราได้เลือกตามกิจกรรมและความเหมาะสมของแต่ละคน โดยหลักแล้วจะมี ร่มตอนเดียวเป็นร่มที่ทำขึ้นจากโครงร่มแบบปรกติขนาดจะยาว และเป็นที่นิยมที่ผลิตร่มกับ ร่ม 2 ตอนและร่ม 3 ตอน อ่านต่อ


โฮมเหง้า เผ่าภูไท

 


งานโฮมเหง้า เผ่าภูไท ตำบลหนองสูงเหนือ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร มีการจัดขึ้นทุกปี เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระไกรสรราช (สิงห์) ผู้มีพระคุณคนแรกที่ได้ปกครองเมืองหนองสูง พร้อมทั้งเป็นการรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของเผ่าผู้ไท ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูด การแต่งกายที่สวยงาม การฟ้อนรำและวิถีชีวิตการเป็นอยู่ที่อยู่กันแบบกลุ่มพึ่งพาอาศัยกันและกัน อ่านต่อ

พิธีเหยา

 


พิธีเหยาการสืบทอดอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของหมอเหยาและเป็นอัตลักษณ์ของผู้ไทในพิธีเหยาเลี้ยงผี ลักษณะความเชื่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวิญญาณ (ผี) พิธีกรรมเหยาเป็นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างมนุษย์กับวิญญาณ โดยใช้บทกลอนและทำนองคำ มีแคนประกอบการให้จังหวะ อ่านต่อ

วัดป่าสุวรรณาราม - ถ้าแสงทิพย์

 


"หนองสูงถิ่นผู้ไทย เมืองพระไกรสรราช ตาดโตนน้ำตกสวย ห้วยบังอี่น้ำใส ผ้าไหมเลิศหรู ภูจ้อแหล่งธรรม ลึกล้ำพิธีเหยา ทิวเขางามตา" วัดป่าสุวรรณาราม - ถ้ำแสงทิพย์ ตั้งอยู่ บ้านนาตะแบง หมู่ 7 ตำบลภูวง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร พญานาคบนภูเขา (ปู่มุจรินทร์นาคาราชเจ้า เป็นหนึ่งในจอมกษัตริย์แห่งเหล่าพญานาค อ่านต่อ)

"สิม" ศิลปะญวน ผสมลาว และภูไท

 


สิม วัดนรวราราม บ้านหนองโอใหญ่ ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ประวัติวัดนรวราราม เอกสารกล่าวว่าสร้างในปี พ.ศ.2455 ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญ คือ สิม ที่เดิมเป็นสิมไม้ขนาดเล็ก หลังคาทรงจั่งฝาผนังมัดหมาย ต่อมาใน พ.ศ.2468 - 2470 อ่านต่อ

การทอซิ่นทิวฝ้าย

 


อาชีพการทอซิ่นทิวฝ้าย บ้านหนองโอ หมู่ที่ 8 ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร มีลวดลายอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวภูไทเมืองหนองสูง ที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผ้าซิ่นทิวฝ้าย เป็นผ้าที่สร้างลวดลายแบบโบราณ ที่ใช้สีธรรมชาติในการย้อม ซึ่งเป็นผ้าที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรม อ่านต่อ

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดมุกดาหาร. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand